
เคยสงสัยหรือไม่ว่า เหตุใดบริษัทยักษ์ใหญ่ที่มีหลายสาขา มีพนักงานมากหน้าหลายตาสามารถคงวิธีการทำงานในแต่ละสาขาย่อย ๆ ได้ตามมาตรฐานในแต่ละวัน บริษัทหรือแบรนด์เหล่านี้ที่เรียกกันว่า เชนสโตร์ (Chain Store) นับได้ว่าเป็นอีกหนึ่งฟันเฟืองเศรษฐกิจของธุรกิจค้าปลีกในยุคปัจจุบัน
ในวันนี้ Teachme Biz เรามาแชร์ว่าบริษัทชนิดที่เป็น Chain Store เขาสามารถรักษามาตรฐานการทำงานในกระบวนการต่าง ๆ ไว้ได้อย่างไร รวมถึงเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยที่เมื่อเรารู้แล้วจะสามารถนำมาใช้ได้ในธุรกิจของเราเอง โดยเฉพาะเวลาที่ต้องการขยายสาขากิจการมากขึ้น
Chain Store Operation จุดเริ่มต้นของความสำเร็จธุรกิจ
การดำเนินงานในรูปแบบเชนสโตร์ หรือที่ในภาษาอังกฤษเรียกว่า Chain Store Operation (บางครั้งก็เรียกกันสั้น ๆ ว่า Chain Operation) คือ วิธีการบริหารจัดการธุรกิจที่มีสำนักงานใหญ่เป็นศูนย์กลางและต่อยอดพัฒนาไปสู่การบริหารจัดการแบบหลายสาขา โดยทั้งหมดนี้ตั้งอยู่บนพื้นฐานของ “ทฤษฎีเชนสโตร์” (Chain Store Theory) หรืออีกนัยหนึ่งก็คือ ทฤษฎีเชนสโตร์นี้เป็นต้นกำเนิดของการดำเนินงานของเชนสโตร์ที่หลายบริษัทประยุกต์ใช้อยู่นั่นเอง
ทฤษฎีเชนสโตร์เป็นวิธีการจัดการที่มีต้นกำเนิดจากประเทศสหรัฐอเมริกา เป้าหมายก็เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการบริหารธุรกิจ โดยให้สักนักงานใหญ่เป็นผู้วางแผนให้แต่ละสาขาย่อย ไม่ว่าจะเป็นสินค้าต่าง ๆ , การจัดซื้อ, การส่งเสริมการขาย รวมไปถึงการจัดการทรัพยากรบุคคล ฯลฯ และปล่อยให้หน้าที่หลักของแต่ละร้านย่อยมุ่งเน้นไปที่การดำเนินงานที่หน้างาน เช่น การขาย ฯลฯ การแบ่งหน้าที่ให้ชัดเจนแบบนี้ จะสร้างมาตรฐานในภาพรวมทั้งยังได้ประสิทธิภาพในแง่ยอดขาย เพราะมีการแบ่งหน้าที่ในการมุ่งเน้นกันอย่างชัดเจน
ข้อดีของ Chain Store Operation
ข้อดีหลักของ Chain Store Operation คือ สามารถลดต้นทุนของสินค้าเมื่อสั่งซื้อได้ โดยการรวมศูนย์การสั่งซื้อไว้ที่เดียว และซื้อในปริมาณมาก ๆ เมื่อต้นทุนของสินค้าที่สั่งซื้อมาเพื่อขายมีราคาต่ำลง การตั้งราคาขายก็สามารถตั้งให้ราคาต่ำกว่าคู่แข่งได้ โดยที่สินค้านั้นอาจเป็นสินค้าชนิดเดียวกันแบรนด์เดียวกัน เช่นนี้แล้วก็ดึงดูดให้ลูกค้าเลือกซื้อจากร้านค้าที่มีราคาถูกกว่า เหมือนที่เราได้ยินโฆษณาทางทีวีกันบ่อย ๆ ว่าซุปเปอร์มาเก็ตนี้ขายถูกลง ๆ และใช้จุดเด่นด้านราคาที่ถูกกว่าของสินค้าในชีวิตประจำวันเป็นจุดขาย นอกจากนั้นต้นทุนคงที่อื่น ๆ ก็ยังสามารถบริหารจัดการให้ต่ำลงได้ด้วย เช่น ต้นทุนการจัดจ้างบุคคลากรต่าง ๆ เพราะรวมศูนย์จัดการที่จุดเดียวคือสำนักงานใหญ่ เป็นต้น
จุดอ่อนของ Chain Store Operation
จุดอ่อนที่เห็นชัดเจนคือ ไม่มีอะไรการันตีได้ว่าการลงทุนขยายสาขาของเชนสโตร์จะสามารถสร้างกำไรได้เหมือนกับสาขาอื่น ๆ แต่ละสาขาที่เปิดธุรกิจแล้วก็ไม่แน่อีกเช่นกันว่าจะทำกำไรได้ในปริมาณเท่ากัน เพราะแม้จะมีมาตรฐานการทำงานที่เหมือนกันในแต่ละสาขา แต่ปัจจัยที่จะสร้างผลกำไรนั้นก็มีมากมาย และแตกต่างกันไปตามลักษณะของลูกค้าในแต่ละท้องที่ นอกจากนั้นจำนวนสาขาที่เพิ่มมากขึ้น จำเป็นต้องใช้พนักงานมากขึ้นด้วย ต้นทุนในการบริหารทรัพยากรจะสูงขึ้น เช่น การอบรมพนักงานใหม่ เป็นต้น
ชนิดของ Chain Store Operation
Chain Store Operation สามารถแบ่งเป็นชนิดให้เข้าใจง่าย ๆ ได้ 3 ชนิดดังนี้
1. Regular Chain (Corporate Chain)
Regular Chain หรือ เชนสโตร์แบบปกติทั่วไป เชนสโตร์ชนิดนี้พบได้บ่อยในธุรกิจซุปเปอร์มาร์เก็ต โดยที่สำนักงานใหญ่บริหารจัดการที่ศูนย์กลางเช่น ด้านทรัพยกรบุคคล, จัดซื้อสินค้า, ดูภาพรวมของยอดขาย ฯลฯ และสาขาต่าง ๆ เน้นทำยอดขายให้เป็นไปตามแผนที่วางไว้ เชนสโตร์รูปแบบนี้มีข้อดีคือทำให้ต้นทุนในการบริหารจัดการต่ำลง เพราะรวมการบริหารจัดการไว้ที่เดียวที่ศูนย์กลาง จึงจัดการสิ่งต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมไปถึงการสร้างมาตรฐานการทำงาน, บริการให้เป็นหนึ่งเดียว และกระจายมาตรฐานนั้น ๆ ไปให้ทั่วทุกสาขา ลูกค้าจึงมั่นใจได้ว่า ไม่ว่าไปอุดหนุนที่สาขาใดก็ได้มาตรฐานเดียวกัน
2. Franchise Chain – แฟรนไชส์เชนสโตร์
เชนสโตร์ชนิดนี้บริษัทผู้เป็นเจ้าของแบรนด์ (หรือเรียกกันว่า แฟรนไชส์ซอ – Franchisor) จะรับสมัครผู้ที่ต้องการลงทุนทำธุรกิจให้มาใช้ชื่อแบรนด์เดียวกัน โดยมีสิ่งแลกเปลี่ยนคือผลตอบแทนระหว่างผู้ลงทุน (หรือเรียกกันว่า แฟรนไชส์ซี – Franchisee คือ ผู้ได้รับสิทธิในการประกอบธุรกิจนั้น) และเจ้าของแบรนด์แฟรนไชส์นั้น ๆ เช่น สิทธิ์ในการใช้ชื่อแบรนด์นั้นในการดำเนินธุรกิจ เจ้าของแบรนด์ก็ได้สาขาที่มากขึ้น, ได้รับค่าสิทธิ์จากแฟรนไชส์ซี, ฯลฯ ธุรกิจนี้ที่เห็นบ่อยจะเป็นร้านอาหาร, ร้านเครื่องดื่ม หรือแม้แต่ร้านสะดวกซื้อ ข้อดีของเชนสโตร์ชนิดนี้คือ เจ้าของแบรนด์สามารถขยายสาขาโดยไม่ต้องใช้เงินลงทุนตั้งต้นเองทั้งหมดทุกสาขาเพราะมีการลงทุนด้วยเงินของแฟรนไชส์ซีด้วย ส่วนแฟรนไชส์ซีเองก็สามารถเริ่มต้นธุรกิจได้ง่ายขึ้น เพราะมีคุณค่าของแบรนด์อยู่ก่อนแล้ว, ตลาดรู้จัก, มีคู่มือการทำงานให้ในเบื้องต้น
3. Voluntary Chain – เชนแบบสมัครใจ
เชนสโตร์รูปแบบนี้เป็นการรวมใจกันของร้านค้าต่าง ๆ ที่มีเป้าหมายเดียวกัน เพื่อสร้างมาตรฐานบางอย่างในการบริหารจัดการ เช่น การรวมคำสั่งซื้อจากหลาย ๆ ร้านค้าเข้าไว้ด้วยกันเพื่อทำให้ปริมาณการสั่งซื้อมีมากขึ้นและทำให้ได้สินค้าในราคาถูกลง อย่างไรก็ตามการบริหารจัดการหลักยังคงเป็นของร้านค้าแต่ละร้าน ข้อดีของการทำเชนสโตร์รูปแบบนี้คือ แต่ละร้านค้าสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลกัน เช่น สถานการณ์ตลาด, ความต้องการของลูกค้า, ความรู้ในการบริหารจัดการธุรกิจ ในขณะที่ยังสามารถสร้างลักษณะเฉพาะของร้านตัวเองได้อยู่ด้วย
สรุป
ในบล็อกนี้ เราได้รู้จักแล้วว่า Chain Store คืออะไรและมีการแบ่งประเภทอย่างไรบ้าง แต่นี่เป็นเพียงจุดเริ่มต้นของเรื่อง Chain Store เท่านั้น ต่อไปในพาร์ทที่ 2 ของเรา จะมาแชร์เจาะลึกถึงวิธีการว่าทำอย่างไรให้ธุรกิจ Chain Store ประสบความสำเร็จ และรวมถึงแนวทางกำหนดมาตรฐานให้กับธุรกิจเพื่อแข่งขันในสนามการค้าที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาของอุตสาหกรรมค้าปลีก คอยติดตามกันในบล็อกหน้ากับ 3 คีย์หลักสู่ความสำเร็จธุรกิจ ยกระดับร้านเชนสโตร์
Teachme Biz - Visual SOP Management Platform คือระบบจัดการคู่มือออนไลน์ที่จะเปลี่ยนการจัดการของทั้งคู่มือการทำงาน, Work Instruction, Workflow, หรือ SOP ที่แสนยุ่งยากให้ง่ายด้วยสมาร์ทโฟนเครื่องเดียว เข้าใจง่ายด้วยภาพและวิดีโอแบบ step-by-step เก็บคู่มือการทำงานของทั้งองค์กรไว้บนออนไลน์ ง่ายแต่ปลอดภัยในการเข้าถึง เป็นพื้นฐานสำคัญในการสร้างมาตรฐาน และเสริมสร้างประสิทธิภาพในการทำงานขององค์กรคุณ
ท่านใดต้องการสร้างคู่มือที่ใช้งานได้จริง หรือต้องการสร้างมาตรฐาน รวมถึงเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานให้ดีขึ้น ติดต่อปรึกษาเราได้ที่ LINE OA: @studist.th !